วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดระหว่างเรียน



1. การเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึงอะไร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร
ตอบ การเสริมแรง คือ การทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากการได้รับสิ่งเสริมแรง ที่เหมาะสม การเสริมแรงมี 2 ทาง ได้แก่
        1. การเสริมแรงทางบวก ( Positive Reinforcemment ) เป็นการส่งเสริมแรงที่บุคคลพึงพอใจ ที่มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
        2. การเสริมแรงทางลบ ( Negative Reinforcemment ) เป็นการนำเอาสิ่งที่บุคคลไม่พึงพอใจออกไป มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
การนำมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีการศึกษา
       จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอน
    1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน ( step by step )
    2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
    3. การทราบผลในการเรียนรู้
    

2. ทฤษฎีทางจิตวิทยาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร
ตอบ 1. การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม ( Behavioral learning Theory ) ใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีของ กาเย่ ( Gagne ) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ดังนี้
  • สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน
  • แจ้งจุดประสงค์ บอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลการเรียน เห็นประโยชน์ในการเรียน ให้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน
  • กระตุ้นให้ผู้เรียน ทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงไปหาความรู้ใหม่ เสนอบทเรียนใหม่ๆด้วยสื่อต่างๆที่เหมาะสม
  • ให้แนวทางการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าต่างๆ
  • กระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือทำแบบฝึกปฏิบัติ
  • ให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียน ทราบถึงผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
  • การประเมินผลการเรียนตามจุดประสงค์
  • ส่งเสริมความแม่นยำ การถ่ายโอนความรู้โดยการสรุป การย้ำ การทบทวน  
2. การผลิตสื่อเว็บการสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม ( Cognitive Learning Theory ) ใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของ Jero Brooner เพื่อให้ผู้เรียนจะต้อง ศึกษาและค้นคว้าด้วยตนเอง จะต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน ผู้เรียนร่วม ผู้สนใจ และบุคคลอื่นๆ ในระบบได้ทั้วโลก โดยมีแนวคิดพื้นฐาน คือ
  1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง
  2. ผู้เรียนแต่ละคนจะมีประสบการณ์และพื้นฐานความรู้ที่แตก ต่างกัน การเรียนรู้จะเกิด จากการที่ ผู้เรียนสร้างความสัมพันธระหว่างสิ่งที่พบใหม่กับความรู้เดิมแล้วำมาสร้างเป็นความหมายใหม่
3. การจัดรูปแบบการเรียนการสอนจะใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มาใช้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีของ เลวิน ( Lawin ) ทฤษฎีสนาม มาใช้โดยการให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่ม ได้เรียนรู้กับเพื่อนๆในกลุ่ม เป็นการเรียนแบบร่วมมือเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถสรุปใจความสำคัญของทฤษฎีสนามเพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมกลุ่มได้ดังนี้
  1. พฤติกรรมเป็นผลจากพลังความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่ม
  2. โครงสร้างกลุ่มเกิดจากการรวบรวมกลุ่มของบุคคลที่มีลักษณะแตกต่างกัน
  3. การรวมกลุ่มแต่ละครั้งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มเช่น ในรูปการกระทำ (act) ความรู้สึกและความคิด
  4. องค์ประกอบต่างๆดังกล่าว จะก่อให้เกิด โครงสร้างของกลุ่ม แต่ละครั้งทีมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกกลุ่ม
  5. สมาชิกกลุ่มจะมีการปรับตัวเข้าหากันและพยายามช่วยกันทำงานจะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและทำให้เกิดพลังหรือแรงผลักดันของกลุ่ม


3. มีการกล่าวถึงความหมายของ สื่อการสอนประเภท วัสดุ ว่าเป็น สิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง ท่านมีความเห็นว่าอย่างไร
ตอบ ในความคิดของดิฉัน การใช้สื่อการสอนประเภทวัสดุ นั้นอาจเกิดความสิ้นเปลืองจริงแต่ เมื่อเรานำมาใช้ในด้านการศึกษาแล้ว มันก็คุ้มค่า เพราะสื่อการสอนประเภทวัสดุ เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียน ทั้งยังขจัดความยุ่งยากที่อาจเกิดจากผู้สอนกันผู้เรียนในด้านความเข้าใจ ดังนั้นเมื่อคิดในแง่ดี สื่อการสอนประเภทวัสดุจึงมีประโชน์ต่อการศึกษาถึงแม้ว่าจะเกิดความสิ้นเปลืองก็ตาม 


4. กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลักอะไร / สรุปสาระสำคัญ
ตอบ Edger Dale แบ่งสื่อการสอนตามประสบการณ์การเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม โดย Edger Dale ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 11 เรียกว่า " กรวยประสบการณ์ ( Cone of Experience ) " 


1. ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย ( Direct or Purposeful Experiences ) เป็นสื่อการสอนที่สร้างประสบการณ์ให้ยู้เรียนสามารถรับรู้ เรียนรู้ด้วยตนเอง 
2. ประสบการณ์จำลอง ( Contrived Experience ) เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับความจริงที่สุด อาจเป็นสิ่งจำลอง หรือสถานการณ์จำลอง
3. ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง ( Dramatized Experience ) เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนรู้จากประสบการณ์ ในการแสดงบทบาทสมมุติ หรือการแสดงละคร นิยมใช้สอนในเนื้อหาที่มีข้อจำกัดในเรื่องยุคสมัยเวลา
4. การสาธิต ( Demonstration ) เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการดูการแสดงหรือการกระทำประกอบคำอธิบาย เพื่อให้เน้นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้นๆ
5. การศึกษษนอกสถานที่ ( Field Trip ) เป็นสื่อการสอนที่ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่างๆ นอกชั้นเรียนโดยการท่องเที่ยว หรือเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ โดยมีการจดบันทึกตลอดจนการสัมภาษณ์บุคคล
6. นิทรรศการ ( Exhibits ) เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งต่างๆ ที่ได้จักแสดงไว้ในลักษณะของนิทรรศการ ผู้เรียนจะเรียนรู้จากสาระเนื้อหาที่แสดงไว้
7. โทรทัศน์ ( Television ) เป็นการใช้โทรทัศน์เป็นสื่อในการสอนโดยเฉพาะเน้นที่โทรทัศน์การศึกาาและโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอน เป็นการสอนหรือให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมทางบ้าน การใช้สื่อการสอนในกรณีนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการชมโทรทัศน์
8. ภาพยนตร์ ( Motion Picture ) เป็นการใช้ภาพยนตร์ที่มีลักษณะเป็นภาพเคลื่อนไหวมีเสียงประกอบ และบันทึกลงในแผ่นฟิล์ม มาเป็นสื่อในการสอน ผู้เรียนจะเรียนรู้หรือได้ประสบการณ์ทั้งจากภาผและเสียง
9. ภาพนิ่ง วิทยุ แผ่นเสียง ( Recording,Radio,and Still Picture ) เป็นสื่อการสอนที่ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนสัมผัสได้เพียงด้านเดียว เช่น สื่อภาพนิ่งอาจเป็นรูปภาพ สไลด์ ซึ่งผู้เรียนเรียนรู้จากการดู สื่อวิทยุเป็นสื่อที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการฟัง ข้อมูลหรือสาระความรู้ เป็นสื่อประเภทให้ประสบการณ์ถึงแม้ผู้เรียนจะอ่านหนังสือไม่ออก
Edgar Dale
10. ทัศนสัญญลักษณ์ ( Visual Symbols ) วัสดุกราฟิกทุกประเภท ที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย การใช้สื่อประเภทนี้ผู้เรียนจำเป็นต้องมีพื้นฐานในการทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายจึงจะเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนอโดยสื่อเป็นอย่างดี
11. วจนสัญญาลักษณ์ ( Verbal Symbol ) เป็นสื่อการสอนที่อยู่ในรูปแบบคำพูด คำบรรยาย หรือสัญญลักษณ์พิเศษต่างๆ ที่ใช้ในภาษาการเขียน ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนโดยผ่านสื่อประเภทนี้ จัดว่าประสบการณ์ขั้นที่มีความเป็นนามธรรมมากที่สุด 


5. สื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน แบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ แบ่งสื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอนมี 3 ประเภท
1. สื่อที่ไม่ต้องฉาย ( Non projected ) เช่น รูปภาพ ของจริง การศึกษานอกสถานที่ หุ่นจำลอง วัสดุกราฟฟิก ป้ายนิเทศและนิทรรศการ
2. สื่อที่ต้องฉาย ( Projected Material ) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์และอื่นๆ 
3. สื่อที่เกี่ยวกับเสียง ( Audio Material ) วัสดุอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาด้วยเสียง เช่นเครื่องเล่นซีดี


6. สื่อการสอนที่แบ่งตามแนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ 1. วัสดุ - สื่อที่ผลิตขึ้น เช่น รูปภาพ แผนภูมิ
สื่อการสอนประเภทวัสดุ ( Software or Material ) เป็นสิ่งที่ได้รับบรรจุเนื้อหาสาระเรื่องราวหรือความรู้ไว้ในลักษณะต่างๆ
2. อุปกรณ์ - เครื่องมืออุปกรณ์ สำเร็จรูป ทั้งที่สามารถใช้ได้ด้วยตนเอง เช่น หุ่นจำลอง และสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุ เช่น วีดีทัศน์ สไลด์
สื่ออุปกรณ์ ( Hardware ) เป็นตัวผ่านที่ทำให้ข้อมูล ความรู้ หรือสาระ ที่อยู่ในวัสดุสามารถถ่ายทอดออกมา
3. วิธีการ - กิจกรรม เกม ศูยน์การเรียน ทัศนศึกษา สถานการณ์จำลอง แหล่งความรู้ชุมชน
สื่อการสอนประเภทเทคนิคและวิธีการ ( Techniques and Methods ) สื่อการสอนที่มีลักษณะเป็นแนวความคิด รูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน หรือเทคนิค ที่ไม่มีลักษณะทางกายภาพเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์ แต่สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์มาช่วยในการดำเนินงานได้


7. วัสดุกราฟิกหมายถึงอะไร
ตอบ วัสดุใดๆ ซึ่งแสดงถึงความจริง ความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน ภาพถ่าย และอักษรข้อความรวมกัน  




8. ตู้อันตรทัศน์ มีลักษณะเป็นอย่างไร
ตอบ เป็นวัสดุสามมิติที่จำลองเหตุการณ์ สถานที่ สภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับสภาพจริงมากที่สุด เพื่อนำมาเสนอในห้องเรียนหรือในสถานที่ต่างๆ ตู้อันตรจะช่วยกระตุ้น เร้าความสนใจในการเรียนการสอน 





◄ ตู้อันตรทัศน์ จำลองการทำบุญ " แจ่งกู่เฮือง






9. หลักการใช้สื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติต้องทำอย่างไร
ตอบ 1.เตรีบมตัวครูและสถานที่ ทดลองใช้วัสดุสามมิติก่อนก่อนำไปใช้จริง เตรียมการแก้ปัญหาในการใช้งานจริงที่เกิดขึ้น
2.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้หรือสัมผัสด้วยตัวเอง
3.ผู้เรียนสามารถมองเห็นชัดเจนแลัทั่วถึง
4.ควรใช้ร่วมกับสื่อการเรียนการสอนชนิดอื่นๆ ที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในการเรียนให้ดียิ่งขึ้น   
5.การนำเสนอสื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติ อาจทำได้
    5.1 แสดงให้ดูหร้อมกันทั้งชั้นเรียน
    5.2 มอบให้ผู้เรียนดูเป็นกลุ่มเล็กๆ
    5.3 มอบให้ผู้เรียนนำไปศึกษาเป็นรายบุคคล


10. ให้นิสิตหาภาพตัวอย่างวัสดุกราฟิก แต่ละประเภท
ตอบ                                                  แผนสถิติ                                                                                                       
                                                       
  ☺ แผนภาพ 


                                                       ☺ แผนภูมิ 


                                                       ☺ การ์ตูน

                                                    
 ☺ ภาพโฆษณา



 ☺ แผนที่และลูกโลก




11. วัสดุกราฟิกมีความสำคัญต่อการศึกษาอย่างไร
ตอบ 1. ช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพดีขึ้น 
2. ช่วยให้ผู้สอนสามารถสื่อความหมายได้ถูกต้องและผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ตรงกัน
3. ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลา แต่ได้เนื้อหามาก 
4. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และรู้จักคิดแก้ปัญหาต่างๆ
5. สามารถทำสิ่งที่ยากและสลับซับซ้อนให้เกิดความเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
6. ย่อส่วนของสิ่งที่ใหญ่โตให้เล็กลงเพื่อนำมาศึกษา ลักษณะส่วนรวมได้ง่ายขึ้น

 


วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดสื่อเละเทคโนโลยีการศึกษา


1. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ตอบ      1. สื่อโสตทัศน์
              2. สื่อมวลชน
              3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม รวมคอมพิวเตอร์
              4. สื่อที่เป็นแหล่งวิทยาการ  เช่น  หอสมุด  ห้องสมุด  พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น
       
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ 

2. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามลักษณะทั่วไป มีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงหาภาพมาประกอบ

ตอบ      1. สื่อประเภทใช้เครื่องฉาย (projected aids) เช่น
                  1.1 สไลด์ใช้กับเครื่องฉายสได์ 




                  1.2 แผ่นภาพโปร่งใสกับเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ



                  1.3 ฟิล์มภาพยนต์กับเครื่องฉายภาพยนต์  เป็นต้น




             2. สื่อประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย (nonprojected aids) เช่น รูปภาพ แผนภูมิ แผนสถิติ ของจริง ของจำลอง เป็นต้น






             3. สื่อประเภทเครื่องเสียง (Audio aids) เช่น เทปเสียง แผ่นซีดี วิทยุ เป็นต้น

~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ 

3. ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามประสบการณ์เป็นของนักศึกษาท่านใด และมีการจัดประสบการณ์จากนามธรรมไปสู่รูปธรรม โดยเริ่มต้นจากประสบการณ์ใดไปประสบการณ์ใด จงอธิบาย

ตอบ      เอดการ์ เดล  ได้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ และขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อแต่ะประเภท ดังนี้




             ขั้นตอนของปรสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อแต่ละประเภท
             1. ประสบการณ์ตรง  เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ด้วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งเกิดจากการได้ปฏิบัติกิจกรรมและได้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริง
             2. ประสบการณ์รอง  เป็นประสบการณ์ที่มีัลักษณะใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากที่สุด เนื่องจากประสบการณ์ตรงบางอย่างนั้นไม่สามารถทำให้เกิดได้จริง อาจเป็นอันตรายเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้ อาจมีความยุ่งยากสลับซับซ้อน มีขนาดใหญ่หรือเ็กเกินไป ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์จรงได้ จึงจำเป็นต้องจำลองหรือเลียนแบบให้มีลักษณะที่ใกล้เคียงหรือเหมือนจริงมากที่สุด เพื่อความสะดวก ปลอดภัยและ่ง่ายต่อความเข้าใจ เช่น สถานการณ์จำลอง หุ่นจำลอง เป็นต้น
             3. ประสบการณ์นาฏการ  เป็นการจำลองสถานการณ์อย่างหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงความเหมือนหรือใก้เคียงกับสถานการณ์จริง  เพื่อจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ด้วยเหตุที่มี ้อจำกัดต่างๆ  ได้แก่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อในอดีต สถานที่ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรม ซึ่งไม่สามารถจัดเป็นประสบการณ์รองได้ เช่น การแสดงละคร บทบาทสมมุติ เป็นต้น
             4. การสาธิต  เป็นการกระทำหรือแสดงให้ดูเป็นตัวอย่างประกอบการอธิบายหรือบรรยาย
             5. การศึกษานอกสถานที่  เป็นประสบการณ์เรียนรู้ที่ได้จากแหล่งความรู้ภายนอกห้องเรียนในสภาพความเป็นจริง
             6. นิทรรศการ  เป็นการนำประสบการณ์ที่สามารถสัมผัสได้หลายๆด้าน มาจัดแสดงผสมผสานร่วมกัน
             7. โทรทัศน์และภาพยนต์  เป็นประสบการณ์ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบ แต่โทรทัศน์ มีความเป็นรูปธรรมมากกว่าภาพยนต์ เนื่องจากโทรทัศน์สามารถนำเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในณะนั้นมาให้มได้ในเวลาเดียวกัน ที่เรียกว่า "การถ่ายทอดสด" ในณะที่ภาพยนต์เป็นการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดึ้น และต้องผ่านกระบวนการล้างและตัดต่อฟิล์มก่อนจึ้งจะนำมาฉยให้ชมได้
             8. การบันทึกเสียงวิทยุและภาพนิ่ง เป็นปรสบการณ์ที่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตาหรือทางหู เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
             9. ภาพยนต์  เป็นภาพที่บันทึกเรื่่องราวลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู
            10. ทัศนสัญลักษณ์  เป็นสัญลักษณ์ที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตา
            11. วงจรสัญลักษณ์  เป๋นสัญลักษณ์ทางภาษา

       
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ 

4. การสื่อสารหมายถึงอะไร

ตอบ      เป็นกระบวนการถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนเรื่องราว  ความต้องการ  ความคิดเห็น  ความรู้สึก ระหว่างผู้ส่ง-ผู้รับ ผ่านทางสื่อ ช่องทางระบบเพื่อการติดต่อรับส่งข้อมูลศึ้งกันและกัน

       
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~

5. สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารในองค์กรประกอบใด จงอธิบาย

ตอบ      ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information)  โดยแบ่งเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้
              1. ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่างๆ ซึ้งจะแทนด้วยรหัสต่างๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
              2. ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่างๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
              3. รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
              4. เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพ เพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
              5. วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลายๆรูป

       
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ 

6. จงเีขียนแบจำลององการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล มาพอเข้าใจ

ตอบ      ผู้สงสาร ( source ) ข่าวสาร ( message ) ช่องทางการสื่อสาร ( channel ) ผู้รับสาร( receiver )



~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ 

7. อุปสรรคของการสื่อสารมีอะไรบ้าง

ตอบ      1. คำพูด (Verbalisn)
          2. ฝันกลางวัน (Day Dreaming)
          3. ข้ออ้างถึงที่ขัดแย้ง (Referent Confusion)
          4. การรับรู้ที่จำกัด (Limited Perception)
          5. สภาพแวดล้อมทางกายภาพไม่เอื้ออำนวย (Physical Discomfort)
          6. การไม่ยอมรับ (Inperception)

       
 ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~

8. บทเรียน e-Learning เป็นส่วนใดขององค์ประกอบของการสื่อสาร

ตอบ      สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเิลิร์นนิง (e-Learning ย่อมาจาก Electronic Learning) ปัจจุบันบริาัทหลายๆบริษัทได้ใช้ระบบ e-Leaning โดยระบบการเรียนผ่านอนไลน์นี้มีหลายหลังสูตร  เพื่อเป็นสื่อในการช่วยพัฒนาการเรียนรู้ ฝึกฝนทักษะแก่พนักงานในบริษัท  ปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยหลายๆแห่ง ได้นำระบบการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตมาใช้  โดยกำหนดแต่ละหลักสูตร ตามโปรแกรมการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้เข้าถึงการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น มีทั้งระบบการเรียนแบบทางไกลสำหรับนักเรียนที่สมัครเรียนออนไลน์และสำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าร่วมเรียนในห้องเรียนได้

   ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ 
9. ครูบอยกำลังสอนเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง Grammar ด้วยวิดิทัศน์กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีืัที่ 1  จากข้อความดังกล่าวให้นิสิตเขียนแบบจำลองการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล

ตอบ   
             
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ 

10. การปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ณ หอประชุมธำรงบัวศรี เป็นการสื่อสารประเภทใด

ตอบ      การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ (Large group Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มชน ซึ่งประกอบด้วยคนจำนวนมาก  เช่น การสอนในห้องเรียนระหว่างครูเพียงคนเดียวกับนักเรียนทั้งห้อง  หรือ ระหว่างกลุ่มชนกับบุคคล  การสื่อสารกับคนจำนวนมากซึ่งอยู่ในที่เดียวกันหรือใกล้เคียง  โดยสมาชิกในกลุ่มไม่สามารถทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารได้ทุกคน  เช่น การบรรยายในที่ประชุม  การสอนหนังสือในห้องเรียน  การกล่าวคำปราศรัย  การพูดหาเสียงเลือกตั้ง  เป็นต้น

~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ 


วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา


ความหมายของเทคโนโลยี
            
คำว่า เทคโนโลยี มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
                 ชาร์ลส์ เอฟ. โฮบาน (Charles F. Hoban 1965 : 124) ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีว่า มิใช่คน 
หรือเครื่องจักร แต่เป็นการจัดระเบียบอันมีบูรณาการและความสลับซับซ้อนของความคิด 
                 คาร์เตอร์ วี กู๊ด (Carter V. Good 1973 : 592) ได้ให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลย
ีในพจนานุกรมการศึกษาว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ในวงการศึกษาต่าง ๆ หรือ
มาใช้ในงานสาขาต่าง ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น 
                  เอคการ์ เดล (Edgar Dale 1957 : 610) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ในหนังสือ 
Audio - Visual Method in Teaching ว่า เทคโนโลยีไม่ใช่เครื่องมือแต่เป็นแผนการวิธีการทำงาน
อย่างมีระบบ
                  ก่อศักดิ์ สวัสดิพาณิชย์ (2517 : 83) กล่าวว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์
มาใช้ในวงการศึกษาต่าง ๆ หรือมาใช้ในงานสาขาต่าง ๆ และเกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบ
                  ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2520 : 35) ได้เขียนไว้ในหนังสือมิติที่ 3 ว่า ตามรูปศัพท์ภาษาอังกฤษ
เทคโนโลยี หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการ ซึ่งอยู่ในรูปของการจัดระบบงานด้วยองค์ 3 คือ
                  1. ข้อมูลที่ใส่เข้าไป ได้แก่ การกำหนดปัญหา วัตถุประสงค์รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 
                  2. กระบวนการ ได้แก่ การลงมือแก้ปัญหา แจกแจงวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
                  3. ผลลัพธ์ คือ ผลที่ได้จากการแก้ปัญหาและทำการประเมินผล
      
                  ดังนั้น "เทคโนโลยี" หมายถึง การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ๆ มาใช้หรือ
ประยุกต์ใช้อย่างมีระบบ เพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
            
                        การขยายตัวทางวิทยาการทำให้เทคโนโลยี ถูกนำมาใช้ในงานสาขาต่าง ๆ เช่น 
       
          
                          - เทคโนโลยีทางการทหาร (Military Technology)
    - เทคโนโลยีทางการแพทย์ (medical Technology)
   
- เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology)
    - เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology)
    - เทคโนโลยีทางการค้า (Commercial Technology)
    - เทคโนโลยีทางวิศวกรรม (Engineering Technology)
    - เทคโนโลยีทางการตลาดสังคม (Social Marketing Technology)
    - เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) 

     

 ความหมายของนวัตกรรม

            นวัตกรรม  หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่นำ
มาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 
              นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่ส่งเสริมให้กระบวนการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น การสอนแบบโปรแกรม (Program Instruction) เครื่องช่วยสอน (Teaching Machine) 

        
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
                  1. เป็นความคิดและการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว 
                  2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยและช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น 
                  3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจน โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ 
ข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์
                  4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปัจจุบัน

      
ขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม
                  1. ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น (Invention)
                  2. ขั้นการพัฒนาการ (Development) หรือขั้นการทดลอง (Pilot Project)
                  3. ขั้นการนำไปหรือปฏิบัติจริง (Innovation) 
     
                   นวัตกรรมเป็นคำที่ใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีเสมอ ดังแผนภูมิต่อไปนี้ 
                                
           จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 
โดยความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ จะถูกนำมาใช้ก่อนจนกว่าจะถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน 
ความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ ที่เรียกว่า นวัตกรรมนั้นก็จะกลายเป็นเทคโนโลยีขึ้นมาทันที
     ปัญหาและอุปสรรคทางการศึกษา
 
            การพัฒนาการศึกษา มีปัญหาและอุปสรรคสำคัญ 4 ประการ คือ
                1. ปัญหาบุคคล ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้สอน และผู้เรียน
                2. ปัญหาเครื่องมือ ได้แก่ ศักยภาพและประสิทธิภาพของเครื่องมือหรือสื่อการศึกษา
                3. ปัญหางบประมาณ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการจัดการหรือการบริหารงานการศึกษา 
                4. ปัญหาวิธีการ ได้แก่ วิธีการหรือช่องทางที่จะทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 
     ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา 

           เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำเอาความรู้ แนวคิด กระบวนการ และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์
มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ 

 

    
ระดับของเทคโนโลยีทางการศึกษา

         
การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษา ต้องอาศัยหลักจิตวิทยาเป็นพื้นฐานสำคัญ 
เทคโนโลยีทางการศึกษาแบ่งออกได้ 3 ระดับ ได้แก่
               1. ระดับอุปกรณ์การสอน  เป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับเครื่องช่วยการสอนของครู (Teacher's Aid) 
เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน การใช้เทคโนโลยีระดับนี้ จะต้องควบคู่ไปกับการสอนของครูตลอดเวลา
               2. ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตนเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่
แห่งเดียวกับผู้สอนเสมอไป  การใช้เทคโนโลยีระดับนี้บทบาทของครูต่อหน้าผู้เรียนลดลง ข้อดีในแง่การจัดกิจกรรม 
การใช้เครื่องมือ ข้อเสีย คือ ไม่มีความผูกพันระหว่างครูกับผู้เรียน 
               3. ระดับการจัดระบบการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบการศึกษา
ตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก เทคโนโลยีระดับนี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น งานบริหารการศึกษา งานพัฒนาการศึกษา
สื่อการศึกษา เป็นต้น 

     


บทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน
   
            1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและผู้สอนมีเวลาแก่ผู้เรียนมากขึ้น 
            2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล 
            3. ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้า วิจัย ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ ๆ 
            4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น
            5. ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะ หรือเจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย 
            6. ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้น เช่น การจัดการศึกษานอกระบบ การจัดการศึกษาพิเศษ 



สาเหตุที่นำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในทางการศึกษา
   
            กระบวนการให้การศึกษาปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ พอสรุปได้ 3 ประการ คือ
            1. การเพิ่มจำนวนประชากร
                        เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การขาดแคลนอาหาร ที่อยู่อาศัย สถานที่เรียน ครู สื่อการสอน เป็นต้น ทำให้การจัดการศึกษาไม่ทั่วถึง นักการศึกษาได้เสนอแนวทางในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี เช่น โทรทัศน์การสอน (Instructional T.V.) ชุดการสอน 
                               (Instruction Package) เป็นต้น     
      
     2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
               เป็นปัญหาที่ต่อเนื่องจากการเพิ่มประชากรโดยตรง ทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วการต่อสู้ดิ้นรน การแข่งขันสูงขึ้น การศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ทันกับเหตุการณ์อยู่เสมอ 
      3. ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ ๆ 
               การศึกษาค้นคว้าเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่เป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม 
ทำให้พบวิทยากรใหม่ ๆ ด้านการศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงหลักสูตร เนื้อหา และวิธีการสอน เพื่อให้ทันกับเครื่องมือและวิธีการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 

     
 แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษากับการศึกษาไทย 

           ปัญหาและสภาพการศึกษาไทยในอดีตย่อมได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะ
ปัญหาการด้อยคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา ซึ่งประมวลได้ 3 ประการ คือ
                1. คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง
                         คนไทยส่วนใหญ่ขาดความเชื่อมั่นและไม่นับถือตนเอง ในสภาพการเรียนการสอนที่ครูเป็นศูนย์กลาง ทำให้ผู้เรียนเกิดปมด้อย ขาดความเชื่อมั่น การจัดการศึกษาควรให้ผู้เรียนได้เป็นศูนย์กลาง 
                2. การไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
                         ในอดีตหลักสูตรบรรจุเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ที่ไม่เอื้อต่อผู้เรียนในส่วนภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ การจัดการศึกษาควรสนองความต้องการของคนแต่ละภาคเพื่อให้เขาได้ชื่นชมกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการไม่ยอมรับความสามารถของคนไทยด้วยกันเองด้วย 
               3. การขาดทักษะที่พึงประสงค์
                        มนุษย์เกิดมาภายใต้อิทธิพลของพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมลักษณะที่ไม่ดีต่าง ๆ เช่น ความโลภ ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ การศึกษาที่จัดอย่างเป็นระบบจะทำให้คนมีคุณภาพและควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้เหมาะสม 
การศึกษาในระบบเดิม นอกจากไม่สามารถลดปริมาณสันดานดิบของผู้เรียนลงได้แล้ว ยังมีผลต่อเนื่องให้ผู้สำเร็จการศึกษา
ขาดลักษณะที่พึงประสงค์ 5 ประการ คือ
                        3.1 กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น
                        3.2 สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
                        3.3 รู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่อย่างมีประสิทธิภาพ              
                        3.4 รู้จักแสวงความรู้เอง
                        3.5 มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 





  ** ตัวอย่างนวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษา **