วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดสื่อเละเทคโนโลยีการศึกษา


1. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ตอบ      1. สื่อโสตทัศน์
              2. สื่อมวลชน
              3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม รวมคอมพิวเตอร์
              4. สื่อที่เป็นแหล่งวิทยาการ  เช่น  หอสมุด  ห้องสมุด  พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น
       
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ 

2. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามลักษณะทั่วไป มีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงหาภาพมาประกอบ

ตอบ      1. สื่อประเภทใช้เครื่องฉาย (projected aids) เช่น
                  1.1 สไลด์ใช้กับเครื่องฉายสได์ 




                  1.2 แผ่นภาพโปร่งใสกับเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ



                  1.3 ฟิล์มภาพยนต์กับเครื่องฉายภาพยนต์  เป็นต้น




             2. สื่อประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย (nonprojected aids) เช่น รูปภาพ แผนภูมิ แผนสถิติ ของจริง ของจำลอง เป็นต้น






             3. สื่อประเภทเครื่องเสียง (Audio aids) เช่น เทปเสียง แผ่นซีดี วิทยุ เป็นต้น

~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ 

3. ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามประสบการณ์เป็นของนักศึกษาท่านใด และมีการจัดประสบการณ์จากนามธรรมไปสู่รูปธรรม โดยเริ่มต้นจากประสบการณ์ใดไปประสบการณ์ใด จงอธิบาย

ตอบ      เอดการ์ เดล  ได้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ และขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อแต่ะประเภท ดังนี้




             ขั้นตอนของปรสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อแต่ละประเภท
             1. ประสบการณ์ตรง  เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ด้วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งเกิดจากการได้ปฏิบัติกิจกรรมและได้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริง
             2. ประสบการณ์รอง  เป็นประสบการณ์ที่มีัลักษณะใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากที่สุด เนื่องจากประสบการณ์ตรงบางอย่างนั้นไม่สามารถทำให้เกิดได้จริง อาจเป็นอันตรายเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้ อาจมีความยุ่งยากสลับซับซ้อน มีขนาดใหญ่หรือเ็กเกินไป ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์จรงได้ จึงจำเป็นต้องจำลองหรือเลียนแบบให้มีลักษณะที่ใกล้เคียงหรือเหมือนจริงมากที่สุด เพื่อความสะดวก ปลอดภัยและ่ง่ายต่อความเข้าใจ เช่น สถานการณ์จำลอง หุ่นจำลอง เป็นต้น
             3. ประสบการณ์นาฏการ  เป็นการจำลองสถานการณ์อย่างหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงความเหมือนหรือใก้เคียงกับสถานการณ์จริง  เพื่อจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ด้วยเหตุที่มี ้อจำกัดต่างๆ  ได้แก่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อในอดีต สถานที่ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรม ซึ่งไม่สามารถจัดเป็นประสบการณ์รองได้ เช่น การแสดงละคร บทบาทสมมุติ เป็นต้น
             4. การสาธิต  เป็นการกระทำหรือแสดงให้ดูเป็นตัวอย่างประกอบการอธิบายหรือบรรยาย
             5. การศึกษานอกสถานที่  เป็นประสบการณ์เรียนรู้ที่ได้จากแหล่งความรู้ภายนอกห้องเรียนในสภาพความเป็นจริง
             6. นิทรรศการ  เป็นการนำประสบการณ์ที่สามารถสัมผัสได้หลายๆด้าน มาจัดแสดงผสมผสานร่วมกัน
             7. โทรทัศน์และภาพยนต์  เป็นประสบการณ์ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบ แต่โทรทัศน์ มีความเป็นรูปธรรมมากกว่าภาพยนต์ เนื่องจากโทรทัศน์สามารถนำเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในณะนั้นมาให้มได้ในเวลาเดียวกัน ที่เรียกว่า "การถ่ายทอดสด" ในณะที่ภาพยนต์เป็นการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดึ้น และต้องผ่านกระบวนการล้างและตัดต่อฟิล์มก่อนจึ้งจะนำมาฉยให้ชมได้
             8. การบันทึกเสียงวิทยุและภาพนิ่ง เป็นปรสบการณ์ที่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตาหรือทางหู เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
             9. ภาพยนต์  เป็นภาพที่บันทึกเรื่่องราวลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู
            10. ทัศนสัญลักษณ์  เป็นสัญลักษณ์ที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตา
            11. วงจรสัญลักษณ์  เป๋นสัญลักษณ์ทางภาษา

       
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ 

4. การสื่อสารหมายถึงอะไร

ตอบ      เป็นกระบวนการถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนเรื่องราว  ความต้องการ  ความคิดเห็น  ความรู้สึก ระหว่างผู้ส่ง-ผู้รับ ผ่านทางสื่อ ช่องทางระบบเพื่อการติดต่อรับส่งข้อมูลศึ้งกันและกัน

       
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~

5. สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารในองค์กรประกอบใด จงอธิบาย

ตอบ      ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information)  โดยแบ่งเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้
              1. ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่างๆ ซึ้งจะแทนด้วยรหัสต่างๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
              2. ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่างๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
              3. รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
              4. เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพ เพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
              5. วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลายๆรูป

       
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ 

6. จงเีขียนแบจำลององการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล มาพอเข้าใจ

ตอบ      ผู้สงสาร ( source ) ข่าวสาร ( message ) ช่องทางการสื่อสาร ( channel ) ผู้รับสาร( receiver )



~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ 

7. อุปสรรคของการสื่อสารมีอะไรบ้าง

ตอบ      1. คำพูด (Verbalisn)
          2. ฝันกลางวัน (Day Dreaming)
          3. ข้ออ้างถึงที่ขัดแย้ง (Referent Confusion)
          4. การรับรู้ที่จำกัด (Limited Perception)
          5. สภาพแวดล้อมทางกายภาพไม่เอื้ออำนวย (Physical Discomfort)
          6. การไม่ยอมรับ (Inperception)

       
 ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~

8. บทเรียน e-Learning เป็นส่วนใดขององค์ประกอบของการสื่อสาร

ตอบ      สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเิลิร์นนิง (e-Learning ย่อมาจาก Electronic Learning) ปัจจุบันบริาัทหลายๆบริษัทได้ใช้ระบบ e-Leaning โดยระบบการเรียนผ่านอนไลน์นี้มีหลายหลังสูตร  เพื่อเป็นสื่อในการช่วยพัฒนาการเรียนรู้ ฝึกฝนทักษะแก่พนักงานในบริษัท  ปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยหลายๆแห่ง ได้นำระบบการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตมาใช้  โดยกำหนดแต่ละหลักสูตร ตามโปรแกรมการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้เข้าถึงการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น มีทั้งระบบการเรียนแบบทางไกลสำหรับนักเรียนที่สมัครเรียนออนไลน์และสำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าร่วมเรียนในห้องเรียนได้

   ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ 
9. ครูบอยกำลังสอนเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง Grammar ด้วยวิดิทัศน์กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีืัที่ 1  จากข้อความดังกล่าวให้นิสิตเขียนแบบจำลองการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล

ตอบ   
             
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ 

10. การปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ณ หอประชุมธำรงบัวศรี เป็นการสื่อสารประเภทใด

ตอบ      การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ (Large group Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มชน ซึ่งประกอบด้วยคนจำนวนมาก  เช่น การสอนในห้องเรียนระหว่างครูเพียงคนเดียวกับนักเรียนทั้งห้อง  หรือ ระหว่างกลุ่มชนกับบุคคล  การสื่อสารกับคนจำนวนมากซึ่งอยู่ในที่เดียวกันหรือใกล้เคียง  โดยสมาชิกในกลุ่มไม่สามารถทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารได้ทุกคน  เช่น การบรรยายในที่ประชุม  การสอนหนังสือในห้องเรียน  การกล่าวคำปราศรัย  การพูดหาเสียงเลือกตั้ง  เป็นต้น

~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น