วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดระหว่างเรียน



1. การเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึงอะไร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร
ตอบ การเสริมแรง คือ การทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากการได้รับสิ่งเสริมแรง ที่เหมาะสม การเสริมแรงมี 2 ทาง ได้แก่
        1. การเสริมแรงทางบวก ( Positive Reinforcemment ) เป็นการส่งเสริมแรงที่บุคคลพึงพอใจ ที่มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
        2. การเสริมแรงทางลบ ( Negative Reinforcemment ) เป็นการนำเอาสิ่งที่บุคคลไม่พึงพอใจออกไป มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
การนำมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีการศึกษา
       จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอน
    1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน ( step by step )
    2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
    3. การทราบผลในการเรียนรู้
    

2. ทฤษฎีทางจิตวิทยาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร
ตอบ 1. การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม ( Behavioral learning Theory ) ใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีของ กาเย่ ( Gagne ) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ดังนี้
  • สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน
  • แจ้งจุดประสงค์ บอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลการเรียน เห็นประโยชน์ในการเรียน ให้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน
  • กระตุ้นให้ผู้เรียน ทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงไปหาความรู้ใหม่ เสนอบทเรียนใหม่ๆด้วยสื่อต่างๆที่เหมาะสม
  • ให้แนวทางการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าต่างๆ
  • กระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือทำแบบฝึกปฏิบัติ
  • ให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียน ทราบถึงผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
  • การประเมินผลการเรียนตามจุดประสงค์
  • ส่งเสริมความแม่นยำ การถ่ายโอนความรู้โดยการสรุป การย้ำ การทบทวน  
2. การผลิตสื่อเว็บการสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม ( Cognitive Learning Theory ) ใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของ Jero Brooner เพื่อให้ผู้เรียนจะต้อง ศึกษาและค้นคว้าด้วยตนเอง จะต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน ผู้เรียนร่วม ผู้สนใจ และบุคคลอื่นๆ ในระบบได้ทั้วโลก โดยมีแนวคิดพื้นฐาน คือ
  1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง
  2. ผู้เรียนแต่ละคนจะมีประสบการณ์และพื้นฐานความรู้ที่แตก ต่างกัน การเรียนรู้จะเกิด จากการที่ ผู้เรียนสร้างความสัมพันธระหว่างสิ่งที่พบใหม่กับความรู้เดิมแล้วำมาสร้างเป็นความหมายใหม่
3. การจัดรูปแบบการเรียนการสอนจะใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มาใช้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีของ เลวิน ( Lawin ) ทฤษฎีสนาม มาใช้โดยการให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่ม ได้เรียนรู้กับเพื่อนๆในกลุ่ม เป็นการเรียนแบบร่วมมือเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถสรุปใจความสำคัญของทฤษฎีสนามเพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมกลุ่มได้ดังนี้
  1. พฤติกรรมเป็นผลจากพลังความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่ม
  2. โครงสร้างกลุ่มเกิดจากการรวบรวมกลุ่มของบุคคลที่มีลักษณะแตกต่างกัน
  3. การรวมกลุ่มแต่ละครั้งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มเช่น ในรูปการกระทำ (act) ความรู้สึกและความคิด
  4. องค์ประกอบต่างๆดังกล่าว จะก่อให้เกิด โครงสร้างของกลุ่ม แต่ละครั้งทีมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกกลุ่ม
  5. สมาชิกกลุ่มจะมีการปรับตัวเข้าหากันและพยายามช่วยกันทำงานจะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและทำให้เกิดพลังหรือแรงผลักดันของกลุ่ม


3. มีการกล่าวถึงความหมายของ สื่อการสอนประเภท วัสดุ ว่าเป็น สิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง ท่านมีความเห็นว่าอย่างไร
ตอบ ในความคิดของดิฉัน การใช้สื่อการสอนประเภทวัสดุ นั้นอาจเกิดความสิ้นเปลืองจริงแต่ เมื่อเรานำมาใช้ในด้านการศึกษาแล้ว มันก็คุ้มค่า เพราะสื่อการสอนประเภทวัสดุ เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียน ทั้งยังขจัดความยุ่งยากที่อาจเกิดจากผู้สอนกันผู้เรียนในด้านความเข้าใจ ดังนั้นเมื่อคิดในแง่ดี สื่อการสอนประเภทวัสดุจึงมีประโชน์ต่อการศึกษาถึงแม้ว่าจะเกิดความสิ้นเปลืองก็ตาม 


4. กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลักอะไร / สรุปสาระสำคัญ
ตอบ Edger Dale แบ่งสื่อการสอนตามประสบการณ์การเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม โดย Edger Dale ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 11 เรียกว่า " กรวยประสบการณ์ ( Cone of Experience ) " 


1. ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย ( Direct or Purposeful Experiences ) เป็นสื่อการสอนที่สร้างประสบการณ์ให้ยู้เรียนสามารถรับรู้ เรียนรู้ด้วยตนเอง 
2. ประสบการณ์จำลอง ( Contrived Experience ) เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับความจริงที่สุด อาจเป็นสิ่งจำลอง หรือสถานการณ์จำลอง
3. ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง ( Dramatized Experience ) เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนรู้จากประสบการณ์ ในการแสดงบทบาทสมมุติ หรือการแสดงละคร นิยมใช้สอนในเนื้อหาที่มีข้อจำกัดในเรื่องยุคสมัยเวลา
4. การสาธิต ( Demonstration ) เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการดูการแสดงหรือการกระทำประกอบคำอธิบาย เพื่อให้เน้นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้นๆ
5. การศึกษษนอกสถานที่ ( Field Trip ) เป็นสื่อการสอนที่ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่างๆ นอกชั้นเรียนโดยการท่องเที่ยว หรือเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ โดยมีการจดบันทึกตลอดจนการสัมภาษณ์บุคคล
6. นิทรรศการ ( Exhibits ) เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งต่างๆ ที่ได้จักแสดงไว้ในลักษณะของนิทรรศการ ผู้เรียนจะเรียนรู้จากสาระเนื้อหาที่แสดงไว้
7. โทรทัศน์ ( Television ) เป็นการใช้โทรทัศน์เป็นสื่อในการสอนโดยเฉพาะเน้นที่โทรทัศน์การศึกาาและโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอน เป็นการสอนหรือให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมทางบ้าน การใช้สื่อการสอนในกรณีนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการชมโทรทัศน์
8. ภาพยนตร์ ( Motion Picture ) เป็นการใช้ภาพยนตร์ที่มีลักษณะเป็นภาพเคลื่อนไหวมีเสียงประกอบ และบันทึกลงในแผ่นฟิล์ม มาเป็นสื่อในการสอน ผู้เรียนจะเรียนรู้หรือได้ประสบการณ์ทั้งจากภาผและเสียง
9. ภาพนิ่ง วิทยุ แผ่นเสียง ( Recording,Radio,and Still Picture ) เป็นสื่อการสอนที่ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนสัมผัสได้เพียงด้านเดียว เช่น สื่อภาพนิ่งอาจเป็นรูปภาพ สไลด์ ซึ่งผู้เรียนเรียนรู้จากการดู สื่อวิทยุเป็นสื่อที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการฟัง ข้อมูลหรือสาระความรู้ เป็นสื่อประเภทให้ประสบการณ์ถึงแม้ผู้เรียนจะอ่านหนังสือไม่ออก
Edgar Dale
10. ทัศนสัญญลักษณ์ ( Visual Symbols ) วัสดุกราฟิกทุกประเภท ที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย การใช้สื่อประเภทนี้ผู้เรียนจำเป็นต้องมีพื้นฐานในการทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายจึงจะเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนอโดยสื่อเป็นอย่างดี
11. วจนสัญญาลักษณ์ ( Verbal Symbol ) เป็นสื่อการสอนที่อยู่ในรูปแบบคำพูด คำบรรยาย หรือสัญญลักษณ์พิเศษต่างๆ ที่ใช้ในภาษาการเขียน ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนโดยผ่านสื่อประเภทนี้ จัดว่าประสบการณ์ขั้นที่มีความเป็นนามธรรมมากที่สุด 


5. สื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน แบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ แบ่งสื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอนมี 3 ประเภท
1. สื่อที่ไม่ต้องฉาย ( Non projected ) เช่น รูปภาพ ของจริง การศึกษานอกสถานที่ หุ่นจำลอง วัสดุกราฟฟิก ป้ายนิเทศและนิทรรศการ
2. สื่อที่ต้องฉาย ( Projected Material ) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์และอื่นๆ 
3. สื่อที่เกี่ยวกับเสียง ( Audio Material ) วัสดุอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาด้วยเสียง เช่นเครื่องเล่นซีดี


6. สื่อการสอนที่แบ่งตามแนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ 1. วัสดุ - สื่อที่ผลิตขึ้น เช่น รูปภาพ แผนภูมิ
สื่อการสอนประเภทวัสดุ ( Software or Material ) เป็นสิ่งที่ได้รับบรรจุเนื้อหาสาระเรื่องราวหรือความรู้ไว้ในลักษณะต่างๆ
2. อุปกรณ์ - เครื่องมืออุปกรณ์ สำเร็จรูป ทั้งที่สามารถใช้ได้ด้วยตนเอง เช่น หุ่นจำลอง และสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุ เช่น วีดีทัศน์ สไลด์
สื่ออุปกรณ์ ( Hardware ) เป็นตัวผ่านที่ทำให้ข้อมูล ความรู้ หรือสาระ ที่อยู่ในวัสดุสามารถถ่ายทอดออกมา
3. วิธีการ - กิจกรรม เกม ศูยน์การเรียน ทัศนศึกษา สถานการณ์จำลอง แหล่งความรู้ชุมชน
สื่อการสอนประเภทเทคนิคและวิธีการ ( Techniques and Methods ) สื่อการสอนที่มีลักษณะเป็นแนวความคิด รูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน หรือเทคนิค ที่ไม่มีลักษณะทางกายภาพเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์ แต่สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์มาช่วยในการดำเนินงานได้


7. วัสดุกราฟิกหมายถึงอะไร
ตอบ วัสดุใดๆ ซึ่งแสดงถึงความจริง ความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน ภาพถ่าย และอักษรข้อความรวมกัน  




8. ตู้อันตรทัศน์ มีลักษณะเป็นอย่างไร
ตอบ เป็นวัสดุสามมิติที่จำลองเหตุการณ์ สถานที่ สภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับสภาพจริงมากที่สุด เพื่อนำมาเสนอในห้องเรียนหรือในสถานที่ต่างๆ ตู้อันตรจะช่วยกระตุ้น เร้าความสนใจในการเรียนการสอน 





◄ ตู้อันตรทัศน์ จำลองการทำบุญ " แจ่งกู่เฮือง






9. หลักการใช้สื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติต้องทำอย่างไร
ตอบ 1.เตรีบมตัวครูและสถานที่ ทดลองใช้วัสดุสามมิติก่อนก่อนำไปใช้จริง เตรียมการแก้ปัญหาในการใช้งานจริงที่เกิดขึ้น
2.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้หรือสัมผัสด้วยตัวเอง
3.ผู้เรียนสามารถมองเห็นชัดเจนแลัทั่วถึง
4.ควรใช้ร่วมกับสื่อการเรียนการสอนชนิดอื่นๆ ที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในการเรียนให้ดียิ่งขึ้น   
5.การนำเสนอสื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติ อาจทำได้
    5.1 แสดงให้ดูหร้อมกันทั้งชั้นเรียน
    5.2 มอบให้ผู้เรียนดูเป็นกลุ่มเล็กๆ
    5.3 มอบให้ผู้เรียนนำไปศึกษาเป็นรายบุคคล


10. ให้นิสิตหาภาพตัวอย่างวัสดุกราฟิก แต่ละประเภท
ตอบ                                                  แผนสถิติ                                                                                                       
                                                       
  ☺ แผนภาพ 


                                                       ☺ แผนภูมิ 


                                                       ☺ การ์ตูน

                                                    
 ☺ ภาพโฆษณา



 ☺ แผนที่และลูกโลก




11. วัสดุกราฟิกมีความสำคัญต่อการศึกษาอย่างไร
ตอบ 1. ช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพดีขึ้น 
2. ช่วยให้ผู้สอนสามารถสื่อความหมายได้ถูกต้องและผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ตรงกัน
3. ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลา แต่ได้เนื้อหามาก 
4. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และรู้จักคิดแก้ปัญหาต่างๆ
5. สามารถทำสิ่งที่ยากและสลับซับซ้อนให้เกิดความเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
6. ย่อส่วนของสิ่งที่ใหญ่โตให้เล็กลงเพื่อนำมาศึกษา ลักษณะส่วนรวมได้ง่ายขึ้น

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น